วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ตลาดอินโดจีน

ตลาดอินโดจีน นอกจากจะเป็นแหล่งรวมสินค้าแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดมุกดาหารเพราะเป็น จุดชมวิว ทิวทัศน์ที่สวยงาม ของสองฝั่งแม่น้ำโขง ณ บริเวณริมเขื่อนริมโขงตลาดอินโดจีนมุกดาหาร สามารถมองเห็นสะพาน มิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 ด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำโขงได้เป็นอย่างดี ในเทศกาลวันออกพรรษาจะเป็นจุด ชมการแข่งขันเรือ ยาวประเพณีของคนทั้งสองฝั่งโขงอีกด้วย และจากศูนย์การบริการข้อมูลการท่องเที่ยว ไม่ไกลกันนักจะมองเห็น “ศาลาเรารักมุกดาหาร” ของเทศบาลเมืองมุกดาหารได้อย่างชัดเจน

หอแก้วมุกดาหาร

หอแก้วมุกดาหาร สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรตพระบามสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชฉลองสิริราชสมบัต
ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 มีชื่อเต็มว่า
ิ" หอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก"
จัดสร้างขึ้นในสมัยที่ นายสาโรช คัชมาตย์ ดำรงตำแหน่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารร่วมกับสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกสภาจังหวัดมุกดาหาร หอการค้าจังหวัดมุกดาหาร
และประชาชน
    ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ แระมาณ 2 กิโลเมตร
อยู่ริมถนนสายมุกาดาหาร - ดอนตาล อยู่บนพิ้นที่ 3 ไร่
1 งาน 14 ตารางวา  ได้มาจากการบริจาคของเอกชน คือ
นายธีระชัย ฐานิตสรณ์ ซึ่งเป็น บุตรชาย นายล่ำเ็ซ็ง แซ่ลิ้ม
คหบดีแห่งเมืองมุกดาหาร


อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว












อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว

อุทยานแห่งชาติภูพาน ปัจจุบันมีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอพรรณานิคม อำเภอเมือง อำเภอกุดบาก อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร อำเภอสมเด็จ อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์และมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผาทิวทัศน์ตามธรรมชาติ ตลอดจนพื้นป่าแห่งนี้ในอดีตได้ชื่อว่าเป็นปัญหาทางด้านการเมือง และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ยังเป็นแหล่งสะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ใช้สำหรับต่อต้านทหารกองทัพญี่ปุ่นซึ่ง นับเป็นประวัติศาสตร์ มีเนื้อที่ประมาณ 415,439 ไร่ หรือ 664.70 ตารางกิโลเมตร
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กำหนดป่าเขาภูพานหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ป่าเขาชมภูพาน” จังหวัดสกลนคร และจังหวัดกาฬสินธุ์ และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้เป็นการถาวรเพื่อ ประโยชน์ส่วนรวม กรมป่าไม้ได้เสนอจัดตั้งป่าภูพานเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 244 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2515 กำหนดบริเวณที่ดินป่าภูพานในท้องที่ตำบลนาใน ตำบลไร่ ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม ตำบลโคกภู ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก และตำบลห้วยยาง ตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร และตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ เนื้อที่ 418,125 ไร่ หรือ 669 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 170 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2515 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 7 ของประเทศ

ถ้ำฝามือแดง


ที่ตั้ง
บ้านส้มป่อย ตำบลนาสีนวล อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
พิกัดทางภูมิศาสตร์
เส้นรุ้งที่ 16 o27' 13" เหนือ เส้นแวงที่ 104o 46' 20" ตะวันออก พิกัดกริดที่ 48 QVD 758191 ระวางที่ 5941 I
สภาพที่ตั้งและลักษณะของถ้ำ
สภาพที่ตั้งและลักษณะของถ้ำ
อยู่ในบริเวณภูอ่างบก (ภูจอมนาง หรือ เขาจอมนาง) ภูเขาหินทรายบนเทือกเขาภูพาน ห่างจากหมู่บ้านส้มป่อยที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขง ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 4 กม. ลักษณะเป็นหน้าผา ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของภูยาวประมาณ 61 เมตร ภาพเขียนสีอยู่บนผนังหินของหน้าผา ใต้ลานหินของยอดภูนี้จนสุดหน้าผา ภาพอยู่สูงจากพื้น ประมาณ 5 เมตร
การค้นพบ
แหล่งภาพเขียนสีถ้ำฝ่ามือแดงแห่งนี้ ได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่เป็นแห่งแรกของภาคอีสาน โดยนาย เอ. เอฟ. จี. คาร์ (A. F. G. Kerr) ในวารสารสยามสมาคมเมื่อปี พ.ศ. 2467 และต่อมาในปี พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรได้ดำเนินการสำรวจเก็บข้อมูล
ภาพเขียนสี
ภาพคน ปรากฎมีประมาณ 23 คน เขียนแบบระบายเงาทึบ (silhouette) ลักษณะคล้ายของจริง อยู่ ในอาการเคลื่อนไหว อาจมีการตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับหรือเครื่องนุ่งห่ม มีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะส่วนศีรษะที่โตกว่าลำตัวคล้ายคนโพกหัว เขียนด้วยสีแดงคล้ำ สีเหลืองและสีขาว เขียนแบบโดดๆหรือเป็นกลุ่ม

ภูมโนรมย์


ประวัติ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมณ์ หมู่ที่ 5 ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ห่างจากตัวเมืองมุกดาหารไปทางทิศใต้ ตามถนนตัดใหม่ สายบ้านมโนรมย์ –คำอาฮวน มีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่อยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
จากหลักฐานการสร้างจากแผ่นศิลา ได้กล่าวว่า คนของ ท่านขุนศาลาและพระอาจารย์บุ นันทวโร เจ้าอาวาสวัดมโนภิรมย์ บ้านชะโนด และผู้สร้างวัดลัฎฐิกวัน เป็นผู้สร้าง และถือเป็นที่สำหรับการจำพรรษาและปฏิบัติธรรมกัมมัฎฐานของพระภิกษุ ได้สร้างพระธาตุรูปทรงแปดเหลี่ยมหนึ่งองค์ พร้อมสร้างร้อยพระพุทธบาทจำลอง และพระอาคารเพ็ญ ที่เป็นพระพุทธรูปขนาดเล็กไว้องค์หนึ่ง และสร้างกุฏิสำหรับพระสงฆ์อีกหลังหนึ่ง
โบราณสถานและโบราณวัตถุในวัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์
1. พระธาตุภูมโนรมย์ เป็นพระธาตุทรงแปดเหลี่ยมมีเอวเป็นฐานหักเชิงเป็นรูปแปดเหลี่ยมรัศมีประมาณ 2.5 เมตรเป็นรูปทรงปลีแบ่งเป็น 3 ท่อนคือเป็นลักษณะปริศนาธรรม ตามความหมายแรกเป็นนรกภูมิ ฐานที่สองเป็นโลกภูมิซึ่งมาก และสุดท้ายเป็นสวรรค์ภูมิ ความสูง 4.5 เมตร
2. พระอังคารเพ็ญ เป็นพระพุทธรูปขนาดเล็กสร้างพร้อมพระพุทธบาท เพื่อให้ครบคือพระธาตุ พระพุทธรูปและพระบาทตามความเชื่อของผู้สร้าง
3. บันทึกการสร้างวัดจำนวน 1 แผ่น ติดอยู่หลังของพระอังคารเพ็ญ
4. รอยพระพุทธบาทจำรอง เป็นรอยพระพุทธบาทขนาดเล็ก ซึ่งสร้างขึ้นจากหินทราย มีความกว้าง 80 เซนติเมตร ความยาว 1.8 เมตร สร้างเป็นลักษณะลอยตัวสูงขึ้นจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เมื่อปีพุทธศักราช 2525 เจ้าคณะอำเภอเห็นว่าวัดดังกล่าวเป็นวัดร้าง จึงได้มอบหมายให้ เจ้าคณะอำเภอพระครูอุดมธรรมรักษ์ (หลวงตายอด) ได้มีการบูรณะบำรุงรักษาและป้องกันการทำลายโบราณสถานดังกล่าว และยังมีโครงการสร้างพระพุทธสิงห์สองจำลอง.

อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก

หากท่านเป็นอีกผู้หนึ่ง ที่มีความคิดว่าจะไป ทัวร์อีสาน ขอแนะนำ สถานที่ท่องเที่ยว อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่สำคัญของ จังหวัดมุกดาหารอีกสถานที่ท่องเที่ยวหนึ่ง ที่มีความสวยงามทางด้าน ทัศนียภาพ เป็นสถานที่ที่มีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะทางตอนเหนือของ อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก มีลักษณะเป็นทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำจืด ไม่ว่าจะเป็น กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ดังนั้นแหล่งท่องเที่ยว อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก จึงเปรียบเสมือนเป็นทะเลสาบของจังหวัดมุกดาหาร ที่สำคัญ อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก อยู่ห่างจากตัวเมืองมุกดาหารเพียง 23 กิโลเมตรเท่านั้น
          สำหรับนักท่องเที่ยว ที่มีความชื่นชอบการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ ชอบการท่องเที่ยว การพจญภัย การทัวร์อีสาน ที่อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก จังหวัดมุกดาหาร น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรมองข้าม เนื่องจาก แหล่งท่องเที่ยว อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก ทางจังหวัดมุกดาหาร ได้พัฒนาให้เป็น สถานที่ท่องเที่ยว เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับ พักผ่อนหย่อนใจ แก่ประชาชนชาวจังหวัดมุกดาหาร และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมา ท่องเที่ยว ที่จังหวัดมุกดาหาร
          นักท่องเที่ยว ที่ต้องการเดินทาง ไปท่องเที่ยวที่ อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 212 ออกจากตัวเมืองมุกดาหารไปประมาณ 23 กิโลเมตร ก็จะถึงสถานที่ท่องเที่ยว อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของวนอุทยานภูหมู มีลักษณะเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ สร้างความตื่นตาตื่นใจ ให้นักท่องเที่ยวได้ไม่น้อย

ภูผาเทิบ



ภูผาเทิบ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติมุกดาหาร ที่มีหินมาเทิบทับกันไว้ มีกลุ่มหินประกอบด้วยหินรูปร่างลักษณะต่างๆ วางซ้อนกัน อยู่อย่างวิจิตรพิสดาร บนลานหินกว้างและยาวเป็นสวนหินเปรียบเสมือนประติมากรรมธรรมชาติ ลักษณะโดยทั่วไปเป็น กลุ่มหิน รูปทรงหลายแบบวางซ้อนทับกันคล้ายกับ เพิงผาที่กันแดดกันลมได้ ซึ่งภาษาท้องถิ่นเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า "เทิบ" บางอันมี รูปร่างคล้ายร่ม เห็ดขนาดใหญ่  หินบางก้อนมีรูปร่างคล้ายเครื่องบินไอพ่น รอบเท้าบู้ท เก๋งจีน มงกุฎ และคล้ายสถูป เป็นต้น สันนิษฐานว่าบริเวณ กลุ่มหินนี้ แต่ก่อนคงปกคลุมด้วยดิน เป็นภูเขาดินต่อมาถูกฝน ลมกัดเซาะพังทลายลงเรื่อยจึงมองเห็นหิน โผล่ข้นมาเป็นกลุ่มก้อน ในแต่ละฤดูจะมีดอกไม้ผลัดเปลี่ยนกันออกดอกตามฤดูกาลเพิ่มความงามให้กับภูผาเทิบอีกมาก ดอกไม้ที่ ขึ้นอยู่ตามซอกหิน ผา เช่น เอนอ้า เทียนหิน หรือดุสิตา และดอกกล้วยไม้ประเภทช้างน้าว  ตาลเหลือง

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

ดอกช้างน้าว

 


ดอกไม้ประจำจังหวัด

มุกดาหาร

ชื่อดอกไม้

ดอกช้างน้าว

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Ochna integerrima (Lour.) Merr.

วงศ์

OCHNACEAE

ชื่ออื่น

กระแจะ (ระนอง), กำลังช้างสาร (กลาง), ขมิ้นพระต้น (จันทบุรี), ควุ (กะเหรี่ยง-นครสวรรค์), แง่ง (บุรีรัมย์), ช้างน้าว ตานนกกรด (นครราชสีมา), ช้างโน้ม (ตราด), ช้างโหม (ระยอง), ตาชีบ้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ตาลเหลือง (เหนือ), ฝิ่น (ราชบุรี), โว้โร้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)

ลักษณะทั่วไป

ต้นสูง 3–8 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปใบหอก ขอบใบจักถี่ ใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง 2–8 ดอก มี 5–10 กลีบ สีเหลืองดอกร่วงง่าย มีกลิ่นหอมอ่อน ออกดอก เดือนมกราคม–พฤษภาคม ผลกลม เมื่อแก่เป็นสีดำมัน กลีบเลี้ยงยังคงติดอยู่บนผล แล้วเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นแดง

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง, ตัดชำ

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้